top of page

Performance test คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญในการทดสอบแอปพลิเคชัน



การทดสอบประสิทธิภาพหรือการควบคุมคุณภาพของระบบเป็นกระบวนการสำคัญในการประเมินว่าระบบทำงานอย่างไร ในแง่ของการตอบสนอง และความเสถียรของแอปพลิเคชันว่าทำงานได้ดีตามสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่เราต้องการหรือไม่ โดยปัจจัยหลักหรือเป้าหมายของการทำ Perfromance Testing ประกอบด้วย


- เวลาตอบสนองของเบราว์เซอร์ เพจ แอปพลิเคชัน และเครือข่าย

- เวลาประมวลผลคำขอของเซิร์ฟเวอร์

- ปริมาณผู้ใช้งานพร้อมกันที่ยอมรับได้

-การใช้ Processor Memory จำนวนข้อผิดพลาด หรือประเภทของข้อผิดพลาดที่อาจพบในแอปฯ


จากที่กล่าวมาแล้ว จะเริ่มเห็นว่าการทำ Performance test ของระบบจึงมีความสำคัญช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าซอฟต์แวร์ของคุณตรงตามมาตรฐานระดับการบริการที่คาดหวัง และสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้ หากมีการให้ลูกค้าได้ใช้งานแอปพลิเคชัน โดยยังไม่มีการทดสอบอาจได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร ในบางกรณีกว่าจะรู้ถึงปัญหามันก็สายไปแล้ว

ดังนั้น การทดสอบจะช่วยป้องกัน พัฒนาการปรับปรุงคุณภาพของแอปพลิเคชัน ยังสามารช่วยในการประเมินแอปพลิเคชัน ก่อนที่แอปพลิเคชันจะเข้าสู่การใช้งานจริงโดยการนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับ Performance test ของแอปพลิเคชันนั้นๆ อาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่การใช้กลยุทธ์การทดสอบประสิทธิภาพเพื่อปรับให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์ดิจิทัลที่ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผล


เมื่อใดจึงเหมาะสมที่จะทำ Performance test?

วงจรชีวิตของแอปพลิเคชันประกอบด้วยสองขั้นตอน: การพัฒนาแอปพลิเคชัน และการจำลองสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง ในแต่ละกรณี

ช่วงการพัฒนาแอปพลิเคชันทำการทดสอบ ยิ่งส่วนประกอบของแอปพลิเคชันได้รับการทดสอบเร็วเพียงใด ก็สามารถตรวจพบความผิดปกติได้เร็วยิ่งขึ้น และโดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขก็จะยิ่งต่ำลง เมื่อแอปพลิเคชันเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง การทดสอบประสิทธิภาพก็ควรจะครอบคลุมมากขึ้นเรื่อยๆ ในบางกรณี อาจมีการดำเนินการในระหว่างการปรับใช้


ประเภทของ Performance test 

เทคนิคในการทดสอบประสิทธิภาพมีหลากหลายแบบ เช่น Load Testing, Stress Testing, และ Endurance Testing เป็นต้น ซึ่งแต่ละเทคนิคมีวัตถุประสงค์และวิธีการที่แตกต่างกันออกไป

1.Load tests  : จำลองจำนวนผู้ใช้เสมือนที่อาจใช้แอปพลิเคชัน ในการสร้างการใช้งานจริงและเงื่อนไขการโหลดตามเวลาตอบสนอง การทดสอบนี้สามารถช่วยระบุปัญหาคอขวดที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเข้าใจว่าจำเป็นต้อง ARCHITECTURE ของแอปพลิเคชันหรือไม่

2.Stress Tests : ประเมินพฤติกรรมของระบบในช่วงPeak การทดสอบเหล่านี้เพิ่มจำนวนผู้ใช้อย่างมีนัยสำคัญ และต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาการทดสอบ

3.Endurance Tests : ประเมินความเสถียร และประสิทธิภาพของระบบในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่มีส่วนร่วมกับระบบของคุณในเวลาเดียวกัน โดยมีเป้าหมายในการประเมิน Memory leak เรื่องประสิทธิภาพที่ลดลง หรือปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อแอปพลิเคชันทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง วัน หรือแม้แต่สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันทำงานได้ในระยะยาว

4.Regression Tests : ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงversionแอปพลิเคชันล่าสุดส่งผลกระทบในทางลบต่อประสิทธิภาพหรือไม่ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าfeatureใหม่ การอัปเดต หรือการแก้ไขจะไม่ทำให้เกิดการถดถอยของประสิทธิภาพหรือลดประสิทธิภาพโดยรวมของระบบเมื่อเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้า

5.Scalability tests : ประเมินว่าแอปพลิเคชันสามารถขยายหรือลดขนาดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงปริมาณงานหรือความต้องการของผู้ใช้ได้ดีเพียงใด พวกเขาประเมินความสามารถของระบบในการรักษาระดับประสิทธิภาพเมื่อจำนวนผู้ใช้ REQUEST หรือปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือลดลง ช่วยระบุข้อจำกัดในการscalability และปัญหาคอขวด

6.Reliability tests : ประเมินความเสถียร ความพร้อมใช้งาน และความยืดหยุ่นของระบบภายใต้สภาวะเสมือนโลกแห่งความเป็นจริง จำลองสถานการณ์ความล้มเหลวและเงื่อนไขที่ไม่พึงประสงค์ ตรวจสอบความสามารถของระบบในการรักษาประสิทธิภาพและฟังก์ชันการทำงานที่สม่ำเสมอตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานเชื่อถือได้ในสภาพแวดล้อมการผลิต

อีกท้้งประเภทของ Performance test อื่นๆอีกไม่ว่าจะเป็น Soak tests, Spike test,Volume tests, Compatibility tests


จากประเภทการทดสอบทั้งหมด เทรนด์ใหม่ในยุคปัจจุบันการทำ Performance test จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือไม่


การทดสอบประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด เนื่องจากมีเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพที่เลือกแนวทางแบบ  Low code หรือ No code เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน เครื่องมือบางอย่างต้องอาศัยการเขียนโค้ด อย่างเช่น Jmeter seliniem  แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกแนวทางแบบไม่เขียนโค้ดหรือแบบเขียนโค้ดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ถ้ายังไม่มี tool แบบ Low code หรือ No code ตัวไหนในใจ ทาง DPM มีแนะนำแบรน์ที่ชื่อ Tricentis เป็น platform ทำ continous testing

 

สุดท้ายนะครับการทำ Perfromance Tesing ควรปรับให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเป็นต่อธุรกิจของคุณ ซึ่งช่วยมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยอดเยี่ยม และเพิ่มความเร็วด้านการพัฒนา ซึ่งขับเคลื่อนและส่งมอบความสำเร็จทางธุรกิจในโลกดิจิทัลในปัจจุบัน

Comentarios


bottom of page