top of page

What is APM ?

การตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ แอปพลิเคชันที่ใช้บนระบบ Cloud-Native


การตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน (APM) นั้นจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงานบน could native ด้วยความสามารถของ Observability ที่มี AI อัจฉริยะสามารถวิเคราะห์สาเหตุและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆช่วยให้องค์กรปรับปรุงในด้านของประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีมากยิ่งขึ้นได้ทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

APM คืออะไร ?


Application Performance Monitoring (APM) คือ ซอฟแวร์ที่สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์ที่ดี เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันเกี่ยวข้องกับทางธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงระบบที่ซับซ้อนมากขึ้นมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายประกอบไปด้วย Services, Process, Host, Log, Network และ End User APM สามารถเรียกได้ว่าเป็น:

  • การตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน

  • การจัดการประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน

  • การตรวจสอบแอปพลิเคชัน

  • ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน

  • การตรวจสอบประสิทธิภาพ

จุดเด่นของ Application performance monitoring อยู่ที่ การบริหารและจัดการประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่มีการพัฒนาและขยายเพิ่มขึ้นได้ รวมถึงสามารถรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลายและตรงตามกลยุทธ์ที่องค์กรได้ตั้งเป้าหมายไว้

ทำไมองค์กรธุรกิจถึงต้องการ APM

มีผู้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อซื้อสินค้า สตรีมรายการทีวีและภาพยนตร์ เชื่อมต่อโซเชียลมีเดีย บริหารจัดการด้านการเงินเป็นประจำทุกวัน ในยุคของการทำงานจากที่บ้าน ลูกค้าหันมาใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อแอปเกิดขัดข้อง มีการเชื่อมต่อที่ล่าช้า หรือไม่สามารถเชื่อมต่อได้ อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่พอใจ ส่งผลให้การทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นได้รับความเสียหายหรือสูญเสียรายได้ เมื่อแอปพลิเคชันธุรกิจภายในเริ่มสะดุดองค์กรอาจเห็นประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดลงอย่างไรก็ตาม ทีมดิจิทัลส่วนใหญ่มักพบว่าการค้นหาสาเหตุของปัญหาด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเป็นเรื่องที่ยาก รวมถึงสาเหตุมีมากมายหลากหลายรูปแบบยากเกินกว่าจะคาดเดา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเกิดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจนถึงการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ช้า จนไปถึงปัญหาในเรื่องของโฮสต์หรือเรื่องประสิทธิภาพของเครือข่าย แม้แต่การขัดข้องที่เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการหรืออุปกรณ์เฉพาะต่าง ๆที่ใช้เพื่อเข้าถึงแอปอาจทำให้ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันลดลงได้ เนื่องจากแอปพลิเคชันที่มีในปัจจุบันมีพัฒนาและต่อยอดมากมาย เช่น แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บไซต์ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ ซึ่งเมื่อเราดูภายนอกอาจจะมีการใช้งานที่ดูเรียบเงียบ แต่จริง ๆ แล้วมีความซับซ้อนสูงมาก แอปพลิเคชันเหล่านี้ประกอบไปด้วยโค้ดหลายล้านบรรทัด และรวมไปถึงเรื่องของ digital services ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันหลายร้อยรายการ รวมถึงมีการนำ Open Source และ container มาใช้ผ่านบริการคลาวด์หลากหลายรูปแบบอีกด้วย ทีมดิจิทัลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี APM เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่อาจมีหลายสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน หากไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ ทีมต่าง ๆ จะต้องใช้เวลาที่นานมาก ในการหาทางเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะรู้สึกผิดหวังกับการใช้งานที่ไม่ดีและเลิกใช้แอปพลิเคชันไปในทันทีหรือหันไปใช้บริการแอปพลิเคชันของคู่แข่งแทน

แล้ว APM จะมาช่วยองค์กรของเราได้อย่างไร

APM มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ครอบคลุมเรื่องของเทคโนโลยีและการใช้งานที่หลากหลาย ตามที่ Gartner ได้รายงานว่า “Application Performance Monitoring นั้นประกอบด้วยการตรวจสอบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (DEM), มีความสามารถในการ Auto Discovery แอปพลิเคชันได้, วิเคราะห์และตรวจสอบระบบงาน รวมถึงมีปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนทีม IT Operation ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Gartner Magic Quadrant 2021 สำหรับ Application Performance Monitoring ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสามารถหลักของ APM ที่ครบทุกด้าน ซึ่งความสามารถเหล่านี้ถือเป็นตัวกำหนดมาตรฐานสำหรับโซลูชัน APM ประกอบไปด้วยความสามารถหลักดังนี้

  • Automatic discovery and mapping- สามารถตรวจสอบระบบ Infrastructure ถึงแม้ว่าจะอยู่บน Dynamics Environment ได้แบบ Real time

  • End-to-end observability – สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานได้ ทำให้เข้าใจในทุก ๆ พฤติกรรมการใช้งานของ end user เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลลัพท์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขององค์กรได้ เนื่องจากเราสามารถตรวจสอบได้ทุก Transaction ที่เข้ามาใช้งานในระบ

  • Mobile and desktop application monitoring – วิเคราะห์และตรวจสอบประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้ทั้งแอปพลิเคชันบนมือถือและเบราว์เซอร์

  • Root-cause and impact analysis - วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหาของแอปพลิเคชันและผลลัพธ์ทางธุรกิจเพื่อทำให้มีการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและเชื่อถือได้มากขึ้น

  • Integration and automation – นำไปบูรณาการกับเครื่องมือ Manage Service และ Third- Party อื่น ๆ ได้ เป็นอย่างดี รวมถึงรองรับการขยาย Infrastructure ในอนาคตได้โดยอัตโนมัติ

  • Business KPIs and user journey analysis – วิเคราะห์ User Journey เช่น ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการเข้าใช้งานจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการชำระเงิน เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ KPI ทางธุรกิจเพิ่มขึ้นได้

  • Endpoint Monitoring – วิเคราะห์และระบบสาเหตุได้ว่ามีปัญหาเกิดมาจากอุปกรณ์อะไร

  • Virtual desktop infrastructure (VDI) monitoring - เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยใช้VDI

ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้หลากหลายด้าน ดังนี้


  • มีการตรวจสอบ ด้าน API เพื่อทำความเข้าใจด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันว่าได้รับผลกระทบจาก third party services อย่างไร• ในด้านแอปพลิเคชัน architecture สามารถรวิเคราะห์ประสบการณ์การของผู้ใช้งานและสามารถระบุสาเหตุของปัญหาได้หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ Application Architecture

  • มีการตรวจสอบและวิเคราะห์ service แต่ละรายการว่าสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยรวมได้อย่างไร

  • เพื่อช่วยให้เข้าใจบริบทในเรื่องของ container monitoring และผลกระทบด้านประสิทธิภาพของ container ในแต่ละรายการ

  • หากมีการเปลี่ยนแปลงในแอปพลิเคชันเราสามารถทราบได้ว่าจะมีผลกระทต่อผู้ใช้งานอย่างไรบ้าง

APM มีประโยชน์อย่างไร


APM สามารถเข้ามาช่วยให้ขยายวิสัยทัศน์ในด้านธุรกิจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่ชาญฉลาดขึ้น และจากที่กล่าวมานี้เราจึงสามารถนำเสนอประโยชน์ของ APM ทั้งทางด้านเทคนิคและด้านธุรกิจได้


ประโยชน์ทางด้านเทคนิค


ทีม Business ทีม Operation และทีมแอปพลิเคชันรวมถึงทีมผู้พัฒนาจะได้ประโยชน์มากมายจากการนำแนวทางปฏิบัติและ solution ของ APM มาใช้ เช่น:

  • เพิ่มความเสถียรของแอปพลิเคชันและเวลาในการให้บริการ

  • ลดจำนวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านประสิทธิภาพ

  • แก้ไขปัญหาได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น

  • พัฒนาและปรับปรุง Infrastructure Utilization


ประโยชน์ทางธุรกิจ


ในระดับองค์กรจะได้รับประโยชน์จากการปรับใช้ APM ร่วมกับ DevOps เพื่อสนับสนุนธุรกิจองค์กร ประกอบไปด้วย :

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาและด้านการปฏิบัติงาน

  • ใช้เวลาในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ

  • เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิม

  • ธุรกิจเติบโต มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

  • สามารถลดต้นทุนของการดำเนินงาน

  • สามารถเพิ่ม conversion rates ได้

เหตุใดแอปพลิเคชันที่ใช้งานบน cloud-native จึงสร้างความท้าทายให้ APM


จากที่กล่าวมาข้างต้น เราก็พอจะทราบประโยชน์ของ APM มาบ้างแล้ว แต่ในเมื่อมีการพขยายแอปพลิเคชันเพิ่มบน cloud-native มากขึ้น ก็ทำให้มีความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ตัวอย่างเช่น แอปที่ใช้ระบบ cloud-native จะประกอบไปด้วยไมโครเซอร์วิสเป็นจำนวนมาก ไมโครเซอร์วิสเหล่านี้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้การค้นหาเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นภายใน Application Infrastructure เป็นเรื่องยากขึ้น นอกจากนี้แอปพลิเคชันบน cloud-native ยังสร้างข้อมูลหลายประเภท สร้างข้อมูล telemetry จาก environment แบบ Serverless ค่อนข้างแตกต่างจากฐานข้อมูลหรือเครื่องเสมือน (VM) แต่ในด้านธุรกิจนั้นยังคงต้องทำให้เป็นรูปแบบมาตรฐานและมีจัดการข้อมูลทั้งหมดจากศูนย์กลางเมื่อมีข้อมูลเข้ามา ความเร็วที่สร้างข้อมูลนี้จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่ง เมื่อแอปแบบ cloud-native รวมไมโครเซอร์วิสขนาดเล็กจำนวนมาก ข้อมูลจะเข้ามาในอัตราที่เร็วกว่าแอปพลิเคชันแบบ monolithic ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้จึงได้เพิ่มความท้าทายใหม่ให้ APM ใน environment ของแอปพลิเคชันที่ใช้งานบนระบบ cloud-native


APM ที่เป็นเครื่องมือ VS. แพลตฟอร์ม APM


ด้วย telemetry data ที่มาพร้อมกับแอปที่ใช้บนระบบ cloud-native จึงทำให้มีเครื่องมือตรวจสอบประสิทธิภาพแอปพลิเคชันมากมาย องค์กรต่าง ๆ มีแนวทางในการเลือกหนึ่งถึงสองแบบในการใช้งาน APM กล่าวคือ การใช้เครื่องมือที่มีความสามารถแบบเฉพาะส่วน มอนิเตอร์แยกแต่ละ Component ของ Application ทำให้ทางทีมต่าง ๆ นั้น อาจจะต้องมีการปรับใช้ point solution ร่วมกัน หรืออาจเลือกแพลตฟอร์มเดียวที่ครอบคลุมหลายเลเยอร์ตั้งแต่ Front End จนถึง Back End


ประโยชน์ของการนำ Point Solution มาใช้

Point Solution มีข้อดีสำหรับกรณีการใช้งานโดยเฉพาะ Component ตัวอย่างเช่น บางองค์กรใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Grafana เพื่อรวมการแสดงภาพเมตริกในแดชบอร์ดเดียว ในขณะที่บางองค์กรใช้ เครื่องมือที่ชื่อว่า Jaeger สำหรับความสามารถใน tracing เพื่อให้มี Observability ที่ดีขึ้นในระบบและแก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพ เครื่องมือทั้งสองนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากกับการ Monitor บน Environment นี้ รวมถึงทีมที่เน้นไปที่การแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การใช้ Service Mesh เพื่อช่วยจัดการใน Kubernetes environment โดยหันไปใช้โซลูชันที่ตรงตามเป้าหมายเนื่องจากมีความคุ้มค่าและง่ายต่อการนำไปใช้แก้ปัญหาในแต่ละจุด ทำให้การวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างแอปพลิเคชัน ขององค์กรนั้นค่อนข้างจำกัด ด้วยการ Monitor ที่จำกัดนี้ทำให้ระบุสาเหตุของปัญหาด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเป็นไปได้ยากขึ้น

ส่งผลให้มีการหยุดทำงานนานขึ้นเมื่อมีเกิดปัญหาขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมุมมองรูปแบบโครงสร้างแอปพลิเคชันแบบเดียว ซึ่งมักจะไม่มี "สาเหตุและผลกระทบ" ของปัญหาด้านประสิทธิภาพ เช่น การใช้งาน CPU ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากความล้มเหลวของไมโครเซอร์วิส ซึ่งอาจส่งผลให้มีการแก้ไขปัญหาและคำสั่งเฉพาะจุดโดยไม่จำเป็นที่ไม่ต้องกล่าวถึงการเสียเวลาและเงิน

เนื่องจากขอบเขตการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะจุดนั้นถูกจำกัดด้วยโซโลชันของตัวเอง จึงมีแนวโน้มที่จะสร้าง silos ซึ่งทีมพัฒนาอาจไม่เห็นด้วยกับservice-level objectives (SLOs) และเมตริก ซึ่งผลกระทบนี้อาจนำไปสู่การการทำงานที่มีประสิทธิภาพน้อยและมีข้อผิดพลาดที่มากขึ้น เนื่องจากทีมต้องมีการใช้เครื่องมือและมีการให้ข้อมูลต่างๆ ที่แตกต่างกัน


ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม APM


เนื่องจาก APM มีพื้นฐานมาจากยุคของแอปพลิเคชันแบบ monolithic ก่อนการเพิ่มขึ้นของไมโคร เทคโนโลยีด้วย open-source และ cloud-native environments ในบางอุตสาหกรรมให้เหตุผลว่าแพลตฟอร์ม APM ขาดนวัตกรรมและความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเจาะลึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม APM รูปแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม Dynatrace เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อให้รองรับกับ cloud-native environments ง่ายต่อการใช้งานอีออกแบบเพื่อแบบรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ระบบงานที่ซับซ้อน รวมถึงสามารถใช้งานร่วมกับ solution point โดยมีการใช้ประโยชน์จาก“ agentless ” ในการจับข้อมูล (สำหรับกรณีการใช้งานแอปพลิเคชันที่ไม่รองรับโมเดลการปรับใช้แบบ Agent ) และมี API เพื่อนำเข้าข้อมูล แพลตฟอร์ม cloud-native อย่าง Dynatrace สามารถขยายความสามารถครอบคลุมไปยังไฮบริด-มัลติคลาวด์ทั้งหมด ด้วยความสามารถของ Observability นี้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทุกส่วนของ Application และสามารถแจ้งเตือนปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจของเราได้ ความสามารถที่สำคัญของแพลตฟอร์ม APM ได้แก่ AI และ ระบบอัตโนมัติแบบต่อเนื่องนี้ ด้วยการกระจายข้อมูลของการ สังเกต แพลตฟอร์มจำเป็นต้องประมวลผลโดยอัตโนมัติอยู่ที่หลายพันล้านรายการในแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบการเสื่อมของระบบและความผิดปกติด้านประสิทธิภาพ และให้คำตอบที่แม่นยำพร้อมการระบุสาเหตุที่แท้จริง


APM มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ

แนวทางการใช้ APM มีหลายรูปแบบ รวมถึงการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน การตรวจสอบเครือข่าย การตรวจสอบฐานข้อมูล การตรวจสอบบันทึก การตรวจสอบคอนเทนเนอร์ การตรวจสอบระบบคลาวด์ การตรวจสอบโดย synthetic และการตรวจสอบผู้ใช้งาน เป็นต้น องค์กรต่างๆ มักใช้เครื่องมือตรวจสอบหลายสิบตัวพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขากำลังใช้งานแอปพลิเคชันรุ่นเก่าและจัดการโดยใช้เครื่องมือที่เห็นว่าคุ้นเคยที่สุด แม้ว่าวิธีนี้อาจดูเหมือนเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในช่วงแรก แต่ก็มักจะสร้างปัญหาในระยะยาว ซึ่งโซลูชัน APM ที่มี Observability แบบ Full Stack จะเข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์และระบุสาเหตุได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


Full-Stack Monitoring


เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของแอปพลิเคชันมีการพัฒนา ให้ครอบคลุมทั้ง on-premises และ Multi-cloud จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ เข้าใจมากขึ้นว่ามีเพียงวิธีการตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบเท่านั้นที่สามารถให้การมองเห็นที่ครอบคลุมถึงสาเหตุของปัญหาไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด ด้วยวิธีนี้เองการตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบนี้จึงช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของคุณตั้งแต่ต้นจนจบ ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และแม้แต่พฤติกรรมของผู้ใช้งาน คุณจะเห็นองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้และความเข้าใจในรูปแบบที่เกี่ยวข้องกัน และมีการรับคำตอบสำหรับคำถามทั้งหมดของคุณได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


ข้อดีของแพลตฟอร์ม APM ระดับสูง

แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์อัจฉริยะของ Dynatrace มีความสามารถที่วิเคราะห์และตรวจสอบประสิทธิภาพได้ all-in-one เป็น APM ที่ให้บริการในด้านธุรกิจ แอปพลิเคชัน มี AI ที่ช่วยให้ทีมดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ มีการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วขึ้น และมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น ด้วย Davis AI ที่เป็นแกนหลักที่สามารถให้คำตอบที่แม่นยำแบบเรียลไทม์แม้สาเหตุที่เกิดขึ้นจะซับซ้อนแค่ไหน


Observability อัจฉริยะ

ด้วยขนาดและฟังก์ชันที่หลากหลาย รวมถึง dynamic nature ของแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ เช่น AWS, Azure และ GCP โซลูชัน APM จำเป็นต้องทำงานโดยไม่ต้องมีการ configuration หรือการกำหนด model training เช่น Dynatrace ที่มี Observability ที่เข้ามาช่วยขยายมุมมองของการ monitor ให้กว้างขวางขึ้นบน dynamic cloud environments และที่สำคัญยังเป็นแบบ out-of-the-box อีกด้วย รวมถึงตรวจสอบประสิทธิภาพด้าน metrics, log , traces, entity relationships ข้อมูลจากมาตรฐานโอเพ่นซอร์สล่าสุด ซึ่งรวมถึงช่วยจัดการเรื่อง tracing กับ metrics และข้อมูลผู้ใช้งานรวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งานทั้งหมดนี้รวมอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการกำหนดค่าใด ๆ

ระบบอัตโนมัติที่ไหลลื่นพร้อมใช้งาน 24 ชั่วโมง

การบำรุงรักษา การ configuration หรือเขียนสคริปต์ และ และการตรวจสอบ source data บน cloud-native environment นั้นอยู่เหนือความสามารถที่เราจะทำได้ ซึ่งหมายความว่าองค์กรต้องทำงานเหล่านี้อย่างต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าแอปพลิเคชันนี้มีความพร้อมในการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง Dynatrace เอง สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการ deployment, configuration, discovery, topology, performance, และการอัพเดต ซึ่ง AI Davis สามารถเรียนรู้ได้ระบบงานของลูกค้าด้วยตัวเองและคอยสังเกต วิเคราะห์ ให้คำตอบ รวมถึงจัดลำดับความสำคัญของระบบขององค์กรของคุณอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

มี AI เป็นผู้ช่วยของคุณ

มี AI เป็นผู้ช่วย ที่เสริมพลังให้แก่ทีมโดยจะเข้ามาช่วยลดการทำงานที่ต้องทำเองหรือการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ทำให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นในด้านที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจ ซึ่ง Davis สามารถให้คำตอบที่แม่นยำสำหรับการแก้ปัญหาเชิงรุกและการปรับปรุงประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ มีรายงานจากลูกค้าว่า Davis จะเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพของทั้งทีมโดยอัตโนมัติ ทำให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว

การทำงานร่วมกันข้ามทีม


Dynatraceสร้างขึ้นเพื่อให้มีปรับใช้ในระดับองค์กร ด้วยความง่ายในการใช้งานและจำนวนผู้ใช้งานที่ไม่จำกัด องค์กรต่างๆ สามารถขจัดความยุ่งยากและการทำงานเป็นทีมได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก Dynatrace มีการผสานแพลตฟอร์มข้อมูลให้เข้ากับการวิเคราะห์แบบขั้นสูงเพื่อให้ออกมาเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เหมาะสำหรับทีม biz, ops, App และทีมนักพัฒนา พวกเขาจึงสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้นและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและลดการเกิดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด


วิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้งานและองค์กรธุกิจ


ประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าเป็นแอปมือถือของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ IoT ของลูกค้า หรือเบื้องหลังของเว็บแอปพลิเคชัน นั่นคือเหตุผลที่แพลตฟอร์ม Dynatrace ได้ครอบคลุมอุปกรณ์ Edge และ API ด้วยความชาญฉลาดในด้าน user sessions ซึ่งรวมไปถึง Real User Monitoringและ Session Replayโดยทีมที่ทำงานสามารถเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานกับผลลัพธ์ทางธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลง รายได้ และ KPIs ด้วยการตัดสินใจโดยการใช้ข้อมูลสำรอง พร้อมคำตอบและประเมิน KPIs ของธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งบริษัทต่างๆ จะมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจด้านดิจิทัลที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกช่องทาง


ผู้จำหน่ายชั้นนำในตลาด APM

Gartner Magic Quadrant 2021 สำหรับ Application Performance Monitoring ได้มอบตำแหน่งให้ Dynatrace เป็นที่สุดทั้งสองแกน (Completeness of Vision and Ability to Execute) โดย Gartner ได้ระบุในรายงานว่า Dynatrace เป็นซอฟแวร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ multi-cloud observability สามารถทราบพฤติกรรมของแอปพลิเคชันและความสัมพันธ์ของ infrastructure ในแอปพลิเคชันรวมถึงผู้ใช้งาน และตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักทางธุรกิจ (KPI) ตลอดจน application’s life cycleได้อด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราได้รับตำแหน่งสูงสุดทั้งสองด้าน

APM ที่สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมได้


ลูกค้าต้องการประสบการณ์ผู้ใช้งานที่พึงพอใจเท่ากับความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นเรื่อย ๆ การตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจอย่างดียิ่งขึ้นและสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้าได้ APM solution ที่มี Observability ระดับสูงที่ผ่านการตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบและการวิเคราะห์หาสาเหตุหลักที่ปรับปรุงแล้ว ทำให้องค์กรมีความเข้าใจอย่างดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับปัญหาด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน โซลูชันดังกล่าวจะช่วยให้ทีมดิจิทัลมีความสามารถที่เต็มรูปแบบที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหา ลำดับความสำคัญได้เร็วขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นสำหรับประสบการณ์ผู้ใช้ที่เป็นตัวหลัก


ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามบทความของเรา ไว้เจอกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ

Comments


bottom of page