วันนี้เราจะมาพูดถึงการ monitoring ในปัจจุบันและความสำคัญการ monitoring กันครับ โดยผมจะขึ้นต้นด้วยคำถามง่ายๆ อย่างทำไมการ monitoring ถึงสำคัญ มันจำเป็นมากน้อยขนาดไหน และทำไมถึงต้อง monitor หรือรับข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมันมีประโยชน์อย่างไร
เนื่องจากในยุคปัจจุบันธุรกิจต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วย Technology ซึ่งสิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจนนั้นก็คือ Application ต่างๆที่มามีผลกับชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมยกตัวอย่างให้ทุกท่านได้เห็นภาพแบบนี้ครับ ในปัจจุบันหากเราต้องการที่จะโอนเงินหรือซื้อของเราก็จะเปิด Application ของธนาคารนั้น ๆ หรือ E-Wallet เพื่อทำรายการโอนเงินหรือจ่ายเงิน/ อีกตัวอย่างนึง ซึ่งเห็นได้ชัดมากกับยุคปัจจุบันที่เป็น new normal บางบริษัท สถาบัน หรืองค์กรก็จะมีการทำงานแบบ work from home ซึ่งก็ต้องใช้… platform online ในการทำงานหรือเรียน ซึ่ง platform เหล่านั้นก็ถือว่าเป็น Application ประเภทหนึ่ง เห็นไหมครับว่า Application มีผลแล้วก็เป็นส่วนนึงกับชีวิตในประจำเราไปแล้วครับ
ยิ่งในยุคปัจจุบันเราที่เป็นบริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ให้บริการต่างๆ กับลูกค้าที่เค้าใช้งานก็ต้องทำลูกค้าได้รับความประทับใจหรือความสะดวกใช้การใช้งานยิ่งขึ้น
แต่การที่จะทำให้บริการ เหล่านั้นมันราบรื่นแล้วก็ smooth ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะอะไรครับ เพราะการทำงานของระบบ Back-End ในยุคปัจจุบันมีการทำงานแบบ Multi-cloud platform หรือ Multi-Data Center
ซึ่งอาจจะมีการทำงานข้าม platform ทำให้บางอยากต่อการตรวจจับหรือ find out ว่าปัญหาของระบบเกิดจากตรงไหน ทำให้ต้องใช้เวลาในการหาปัญหาเหล่านั้นเป็นอย่างมาก ใน 1-5 ข้อตรงนี้คือความซับซ้อนและความท้าทายในการ monitor ในยุคปัจุบัน และเป็นกำแพงขนาดใหญ่ที่ทำให้ไม่สามารถก้าวไปสู่อีกระดับของการ monitor ได้แก่
เรื่องของเครื่องที่มากขึ้น
ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น
การปรับปรุงหรือพัฒนา Application เป็นไปได้ช้า
เนื่องจาก Application มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ใช้งานและบางองค์กรหรือสถาบัน Application ได้มีผลกับการเรื่องของรายได้
การ find out หาปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายในระบบไม่จบสิ้น รวมไปถึงการรับได้ปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกค้า จากการที่ต้องให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการต้องมาแจ้งทีมงานก่อนถึงจะสามารถรับเรื่องหรือทราบถึงผลกระทบเหล่านั้น และนี่ก็เป็น 5 ข้อหลักๆของ ปัญหาในการ monitor และความสำคัญของมันไปในตัวว่าทำไมถึงต้องมีการ monitoring นะครับ
ผมขออธิบาย 5 ข้อที่ผ่านมาด้วยกราฟนี้ครับ ทุกท่านจะเห็นว่าช่วงเริ่มต้นนั้นการทำงานของระบบนั้นไม่มีความซับซ้อนและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้การทำงานของระบบนั้นเรียบง่ายและตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา ในยุคต่อมามีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นความซับซ้อน ของ Technology และการทำงานก็เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีการผลักดัน การใช้ Technology หรือระบบในการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก และยุคนี้ก็ได้มีการนำ monitoring เข้ามาใช้งานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
จนมาถึงในยุคปัจจุบันจะสังเกตุได้ว่ามีการใช้งานที่เรียกได้ว่าอยู่ในทุกอนูของชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ เพราะมีการใช้อย่างแพร่หลายปริมาณข้อมูลก็เพิ่มมากขึ้น ผู้คนที่ใช้งานก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำงาน ดูแล และปรับปรุงก็มีความซับซ้อนและท้าทายมากขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นมันจึงมีกำแพงขนาดใหญ่ ที่เกิดจาก 5 topic ที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ รวมได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากเราต้องทำการ monitor หรือตรวจสอบข้อมูลตรงนั้นครับ
วิธีการ monitor ที่เราใช้ในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ใหญ่ๆ ดังนี้
ใช้การ monitor แบบเบื้องต้นหรือสิ่งที่เค้ามีมาให้
D.I.Y
ใช้ Tools หรือเครื่องมือเข้ามาช่วยกในการ monitor ซึ่งการทำแบบวิธีที่ 1 ในยุคปัจจุบันมีผมบอกได้เลยว่าไม่สามารถใช้งานได้และไม่ทันสถานะการที่เกิดขึ้นกับระบบเราแน่นอนครับ
ฉะนั้นเรามาดูวิธีที่ 2 และ 3 กันครับ
จากรูปด้านล่าง เราจะมาเจาะจงกันก่อน นั้นก็คือ D.I.Y ซึ่งต้องใช้ Tools เป็นจำนวนหลายตัวเข้าจัดการและจับการ monitor ระบบของเราครับ รวมทั้งมีวิธีการที่ซับซ้อนในการที่จะ monitor ในระบบ และอีกทั้งข้อมูลที่ได้ยังมีรับจากการ monitor ก็เป็น Big Data ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ตัดกรองหรือวิเคราะห์มาก่อน ฉะนั้นการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีความยากขึ้นไปอีก อีกทั้งต้องนำข้อมูลเหล่านั้น มาแสดงผลเพื่อวิเคราะห์อีกที หากไม่มี AI มาช่วยในการจัดการข้อมูลตรงนี้ก็ต้องเวลา และทีมงาน พอสมควรเลยครับในการจัดการ เห็นไหมครับว่าข้อมูลที่ได้จากการ monitor เหล่านั้นมีลำดับขั้นตอนในการทำงานและกว่าจะได้ข้อมูลที่ สามารถนำมาใช้งานได้มีความซับซ้อนหลายขั้นตอน และต้องใช้เวลาในการกลั่นกรองข้อมูลเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เราต้องการครับ
และในส่วนที่ 3 นี้เอง การใช้ tools ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านนี้ ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการ monitor ระบบของเราครับ เนื่องจากสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติและต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์ และมีการจัดลำดับความสัมพันธ์ของข้อมูลให้กับเรา รวมทั้งมีการส่งแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ และที่สำคัญคือมี Dashboard ให้ใช้งานอยู่ในตัว ซึ่งเราสามารถเลือกและเอาข้อมูลที่ต้องการมาแสดงได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งสามารถบอกข้อมูลต่างๆได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งในตลาดของ monitoring tools นั้นมีเครื่องให้เลือกใช้หลากหลายตัวเลยครับ ซึ่งก็จะมีความโดดเด่นไม่เหมือนกันนะครับ แต่วันนี้ผมขอแนะนำให้รู้จักกับ Dynatrace ซึ่งเป็น Platform การ monitoring ที่เป็นมากกว่าการ monitoring
เรามาเริ่มทำความรู้จักกับตัว Dynatrace กันก่อนสักเล็กน้อยนะครับ Dynatrace เราได้มีการก่อตั้งและทำเกี่ยวกับเรื่อง monitoring Application ตั้งแต่ปีต้น 2005 แล้วได้มีทาง Compuware Group เข้ามาถือต่อและเปลี่ยนชื่อเป็น Dynatrace เมื่อปลายปี 2014 จากนั้นในวันที่ 1 Aug 2019 เราก็ได้เข้าสู่ NYSE หรือตลาดหุ้นของนิวยอร์ก พร้อมกับปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 3,000 รายทั่วโลกและได้เป็นของตลาดที่พิสูจน์โดย Gartner, Forrester และอีกหลากหลายหน่วยงานระดับโลก ฉะนั้นแล้วในเรื่องของการ monitoring ของ Dynatrace มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
รู้จัก Observability
ณ ตอนนี้ทุกท่านคงอยากทำความรู้จักเกี่ยวกับ Dynatrace เพิ่มเติมไม่มากก็น้อยแล้ว ฉะนั้นเรามาเริ่มจากคำ ง่ายๆ คำนี้ก่อนเลยครับ “Observability” … Observability ในทางภาษานั้นจะแปลว่า “การมองเห็น” ซึ่งเป็นคำที่ดีนะครับ ฉะนั้นทาง Dynatrace เราจึงเอาคำนี้มาเป็นคำหลักในการให้ข้อมูลต่างๆเสมือนคำว่า Monitoring แต่มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า Observability การที่จะกลายเป็นคำๆนี้ต้องประกอบไปด้วย 1.Trace ,2.Metric และ 3.Logs ครับ แต่ทางเรานั้นได้มองเห็นถึงความสำคัญของรายละเอียดต่างๆที่อยู่ในระบบด้วย ไม่ว่าจะเป็น Technology เช่น version ของ platform ภาษาที่ท่านเขียน, Behavior หรือ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน, การทำงานของ code ในระดับต่างๆ และรวมไปถึง infrastructure หรือ การทำงานของ server ก็ตาม เราได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้และแสดงออกมาในหน้าจอของ Dynatrace ผ่านทาง UI ง่ายๆ และนี่แหล่ะครับ จึงเป็นที่มาของคำว่า “Observability” ที่มากกว่าแค่คำว่า monitoring และเรายังสามารถ Export หรือ Input API เข้าออก Dynatrace ได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากแต่มีความปลอดภัย เพื่อที่จะสามารถทำเกี่ยวเรื่อง Automation ต่างๆ ได้อีกด้วย
มีเรื่องของ Observability แล้วทำไมถึงยังต้องทำเรื่องของ Automation เพราะสิ่งเหล่านี้ครับ เพราะเรื่องของ Multi-cloud Platform หรือ Multi-data Center มันทำให้เราไม่สามารถมองข้ามในเรื่องของ Automation ได้ครับ ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า cloud platform มีการใช้งานที่แพร่หลายและ แทบจะทุก บริษัท สถาบันหรือองค์กรต่างๆ ก็มีการใช้งานเรื่อง cloud platform อย่างน้อย 1 บริษัทในนี้ และบวกกับ Data center ที่เรามีอยู่อีก แค่นี้ก็ได้ปริมาณของข้อมูลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า Big Data แล้วหล่ะครับ และไหนจะการใช้งานที่หลายที่ หลากหลายส่วน การพัฒนาโปรแกรมหรือ Application เหล่านั้นก็จะมีความซับซ้อนและหลากหลายขึ้นไปอีก Technology ต่างๆที่นำมาใช้งานหรือทำงานบนระบบของเราก็จะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก
รองรับ Technology มากมาย
เรื่องของ Technology ที่ support หรือรองรับก็ต้องมีมากเช่นกันครับ ซึ่ง Dynatrace เราปัจจุบัน support หรือรองรับกว่า 600 standard technology ทั่วโลก จึงมั่นใจได้ว่าเราสามารถรองรับ Technology ของท่านแน่นอนครับ แต่สิ่งที่จะตามมาซึ่งผมได้เกริ่นนำไปก่อนหน้านี้นั่นก็คือ เรื่องของปริมาณข้อมูลหรือ Data ขนาดใหญ่ที่จะได้รับครับ ซึ่งแน่นอนว่าก็มีการจัดการที่ดีและมีผู้ช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านั้น ดังรูปด้านล่าง
ซึ่งก็คือ AI [Artificial Intelligent] นั่นเองครับ ซึ่งตัว AI ของ Dynatrace หรือที่เราเรียกกันว่า “Devis” จะช่วยจัดการหรือของข้อมูลที่ได้รับมาจากการใช้งานในระบบและการใช้งานจากผู้ใช้งาน Application ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการจัดการข้อมูลเหล่านั้น คำถามต่อมาคือ AI รู้รับข้อมูลเหล่านั้นมาได้อย่างไร เรามีสิ่งที่เรียก OneAgent ที่จะลงในแต่ละ server ในระดับ OS หรือในระดับ Operating System นั่นเองครับ ทำให้เราได้ข้อมูลตั้งแต่ระดับ การทำงานของ resource ต่างๆในระบบ ไปจนถึงการทำงานของระดับ Application และ User Behavior ได้เลยครับ โดยตัว OneAgent ก็สามารถลงได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเรียกได้ว่าเรียกได้ว่า “Zero configuration” เลยหล่ะครับ และหลังจากที่เราลง OneAgent เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัว Agent ก็จะรวบรวมและส่งข้อมูลให้กับ Dynatrace Server นั่นเองครับ เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของเราได้แล้วครับ ทั้งยังมี AI คอยจัดการข้อมูล และส่งปัญหาให้หรือแจ้งเตือนเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติในระบบของเรา ผ่านทาง E-mail ,Slack ,MS Team หรือแม้แต่ Line Application chat ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ
Digital Experience Management คือ ส่วนที่สำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้
ส่วนสุดท้ายที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยนั่นก็คือ Digital Experience Management หรือ ส่วนในการ monitor ของ User Behavior ครับ ซึ่งเป็นอีกส่วนสำคัญทำให้ Dynatrace เป็น All in one platform ในการ monitoring และ Automation อย่างแท้จริง เพราะส่วนของ Digital Experience Management นั้นเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของผู้ใช้งานระบบและพฤติกรรมในการใช้งาน รวมไปถึงบอกความพึงพอใจของผู้ใช้งานผ่านเกณฑ์การวัดมาตรฐานโลกที่เรียกว่า “Apdex Score” ซึ่งแม่นยำและวัดผลได้ครับ เริ่มจากการให้ข้อมูลในเรื่องของ resource ต่างๆในระบบ การทำงานของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมและการทำงานของ code นั้นๆ และการให้ข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงโดยที่เราไม่ต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ใช้งานหรือทำแบบสอบถาม ทำให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งยังสามารถทำงานได้หลากหลาย Technology Platform กว่า 600 technology ทั่วโลก
อีกทั้งในอนาคตอันใกล้ที่ก็จะมีเรื่องของ Application Security ที่จะทำให้เรื่องของ security หรือความปลอดภัยในการใช้งาน Application มีความปลอดภัยยกขึ้นไปอีกระดับ รวมทั้งเป็น Tools ที่สามารถทำเกี่ยวกับ AIOps ที่บริษัทชั้นนำของโลกเลือกใช้งาน และนี่จึงเป็นเหตูผลที่ทำให้ Dynatrace เป็นผู้นำในด้านการ “Observability” หรือที่เราเรียกกันกว่า Monitoring นั่นเองครับ ซ้ำยังเป็น Platform กลางที่ทำการ Automation ต่างๆอีกด้วย
บทสรุป
การ monitoring จึงเป็นอีกส่วนสำคัญอย่างมากส่วนนึงในยุคปัจจุบัน ที่บริษัท สถาบันหรือองค์กร ต่างๆต้องให้ความสำคัญ เพราะในยุคปัจจุบันข้อมูลเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราพัฒนาต่อและสามารถจัดการกับสิ่งต่างๆได้ทันท่วงที ดั่งคำได้กล่าวว่า ข้อมูลคือ “อาวุธ” ขอบคุณครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามบทความของเรา ไว้เจอกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ
Comments